วันอาทิตย์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2555



กฎบัตรอาเซียน (The ASEAN Charter)
          คือ ธรรมนูญของอาเซียน จัดทำขึ้นเพื่อรับรองการเป็นประชาคมอาเซียนภายในปี 2558 (ค.ศ.2015) ประกอบด้วยบทบัญญัติ 13 บท 55 ข้อ โดยเริ่มมีผลบังคับใช้ในคราวการประชุมสุดยอดอาเซียน  ครั้งที่ 14 วันที่ 15 ธ.ค. 2551
วัตถุประสงค์
          - เพื่อให้มีความน่าเชื่อถือ มีรูปแบบการทำงานที่มีประสิทธิภาพ
          - มีวัตถุประสงค์ในการทำงานที่ชัดเจนขึ้น
          - ทำให้อาเซียนมีสถานะนิติบุคคลแยกออกจากรัฐสมาชิก
          - เสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับองค์กร ให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงในโลกปัจจุบัน
ข้อกำหนดสำคัญในกฎบัตรอาเซียน
          - มีฐานะเป็นนิติบุคคล
          - อยู่บนพื้นฐานของกฎหมายระหว่างประเทศ เช่น การไม่แทรกแซงกิจการภายใน การระงับข้อพิพาทโดยสันติวิธี
          - สร้างประชาคมอาเซียน ประกอบด้วย 3 เสาหลัก คือ
                    1) ประชาคมการเมืองและความมั่นคง (ASEAN Political-Security Community)
                    2) ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community)
                    3) ประชาคมสังคมและวัฒนธรรม (ASEAN Socio-Culture Community)
          - ประชุมระดับสุดยอดปีละ 2 ครั้ง และจัดตั้งคณะมนตรีเพื่อประสานความร่วมมือในแต่ละ 3 เสาหลัก
          - มีองค์การสิทธิมนุยธรรมอาเซียน
          - ใช้คำขวัญ "วิสัยทัศน์เดียว อัตลักษณ์เดียว ประชาคมเดียว" "One Vision, One Identity, One Community"
          - ให้ความสำคัญกับบทบาทของประธานและเลขาธิการอาเซียน
          - มีการแต่งตั้งเอกอัครราชทูตของประเทศสมาชิกหรือรัฐที่มิใช่สมาชิกเป็นผู้แทนประจำอาเซียน
          - มีสำนักเลขาธิการอาเซียนแห่งชาติในทุกประเทศสมาชิก
          - การจัดตั้งกลไกสำหรับการระงับข้อพิพาทต่างๆ

ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลจาก : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (www.nesdb.go.th)



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น