วันอาทิตย์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2555



กฎบัตรอาเซียน (The ASEAN Charter)
          คือ ธรรมนูญของอาเซียน จัดทำขึ้นเพื่อรับรองการเป็นประชาคมอาเซียนภายในปี 2558 (ค.ศ.2015) ประกอบด้วยบทบัญญัติ 13 บท 55 ข้อ โดยเริ่มมีผลบังคับใช้ในคราวการประชุมสุดยอดอาเซียน  ครั้งที่ 14 วันที่ 15 ธ.ค. 2551
วัตถุประสงค์
          - เพื่อให้มีความน่าเชื่อถือ มีรูปแบบการทำงานที่มีประสิทธิภาพ
          - มีวัตถุประสงค์ในการทำงานที่ชัดเจนขึ้น
          - ทำให้อาเซียนมีสถานะนิติบุคคลแยกออกจากรัฐสมาชิก
          - เสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับองค์กร ให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงในโลกปัจจุบัน
ข้อกำหนดสำคัญในกฎบัตรอาเซียน
          - มีฐานะเป็นนิติบุคคล
          - อยู่บนพื้นฐานของกฎหมายระหว่างประเทศ เช่น การไม่แทรกแซงกิจการภายใน การระงับข้อพิพาทโดยสันติวิธี
          - สร้างประชาคมอาเซียน ประกอบด้วย 3 เสาหลัก คือ
                    1) ประชาคมการเมืองและความมั่นคง (ASEAN Political-Security Community)
                    2) ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community)
                    3) ประชาคมสังคมและวัฒนธรรม (ASEAN Socio-Culture Community)
          - ประชุมระดับสุดยอดปีละ 2 ครั้ง และจัดตั้งคณะมนตรีเพื่อประสานความร่วมมือในแต่ละ 3 เสาหลัก
          - มีองค์การสิทธิมนุยธรรมอาเซียน
          - ใช้คำขวัญ "วิสัยทัศน์เดียว อัตลักษณ์เดียว ประชาคมเดียว" "One Vision, One Identity, One Community"
          - ให้ความสำคัญกับบทบาทของประธานและเลขาธิการอาเซียน
          - มีการแต่งตั้งเอกอัครราชทูตของประเทศสมาชิกหรือรัฐที่มิใช่สมาชิกเป็นผู้แทนประจำอาเซียน
          - มีสำนักเลขาธิการอาเซียนแห่งชาติในทุกประเทศสมาชิก
          - การจัดตั้งกลไกสำหรับการระงับข้อพิพาทต่างๆ

ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลจาก : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (www.nesdb.go.th)



สะพานมิตรภาพไทย-ลาว : ประตูการค้าอาเซียน




สะพานมิตรภาพไทย-ลาว : ประตูการค้าอาเซียน
thai-loas
         สะพานมิตรภาพไทย-ลาว สะพานข้ามแม่น้ำโขงขนาดใหญ่แห่งแรก เป็นสะพานที่สร้างความสัมพันธ์ไทย-ลาว ให้กระชับแน่นแฟ้นยิ่งขึ้นทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ซึ่งในปัจจุบันมีสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แล้ว 3 แห่ง คือ
        สะพานมิตรภาพไทย-ลาว 1 (หนองคาย-เวียงจันทน์) เป็นสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งแรก เชื่อมต่อเทศบาลหนองคายเข้ากับบ้านท่านาแล้ง นครหลวงเวียงจันทน์ ประเทศลาว เปิดใช้เมื่อปี 2537 
        สะพานมิตรภาพไทย-ลาว 2 (มุกดาหาร-สะหวันนะเขต) เชื่อมต่อจังหวัดมุกดาหารกับแขวงสะหวันนะเขต ประเทศลาว เป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางเศรษฐกิจตะวันตกและตะวันออก เริ่มจากพม่า ไทย ลาว และสิ้นสุดที่เวียดนาม เปิดใช้เมื่อปี 2550 
        สะพานมิตรภาพไทย-ลาว 3 (นครพนม-คำม่วน) เชื่อมต่อจังหวัดนครพนมกับแขวงคำม่วน ประเทศลาว เป็นสะพานที่เชื่อมต่อระหว่างไทย ลาว เวียดนามและภาคใต้ของจีน เปิดใช้เมื่อปี 2554

แหล่งข้อมูล : http://th.wikipedia.org    รูปภาพจาก www.google.com





"ภาษาบอกรัก" ในอาเซียน



"ภาษาบอกรัก" ในอาเซียน
     เนื่องในวันแห่งความรัก (14 ก.พ.) หรือวันวาเลนไทน์ เกร็ดความรู้อาเซียน ขอเสนอ “ภาษาบอกรัก” ของประเทศต่างๆ ในอาเซียน และยังสามารถใช้บอกกับทุกคนที่คุณรักได้อีกด้วย  
 ภาษาไทย                 - ฉันรักเธอ 
♥ ภาษาลาว                 - ข้อยฮักเจ้า
♥ ภาษาพม่า                - จิต พา เด (chit pa de)
♥ ภาษาเวียดนาม          - ตอย ยิ่ว เอ๋ม (Toi yue em)
♥ ภาษาเขมร               - บอง สรัน โอง (Bon sro Ianh oon)
 ภาษามาเลย์              - ซายา จินตามู (Saya cintamu)
 ภาษาอินโดนีเซีย        ซายา จินตา ปาดามู (Saya cinta padamu)
 ภาษาตากาล็อก          - มาฮัล กะ ตา (Mahal ka ta)
 ภาษาจีนกลาง           - หว่อ อ้าย หนี่ (Wo ai ni)
 ภาษาญี่ปุ่น               - ไอ ชิเตรุ (Ai shiteru)
 ภาษาเกาหลี             - ซารัง แฮโย (Sarang Heyo)

แหล่งข้อมูล : www.dek-d.com 
heartlove

เพลงประจำอาเซียน



เพลงประจำอาเซียน 
“The ASEAN Way
เป็นผลงานจากประเทศไทยที่ชนะเลิศจากการแข่งขันระดับภูมิภาคอาเซียน ประพันธ์โดยนายกิตติคุณ สดประเสริฐ (ทำนองและเรียบเรียง) ได้เริ่มใช้บรรเลงอย่างเป็นทางการครั้งแรกในพิธีเปิดการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14 ในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2552 ที่อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
เนื้อร้อง
Raise our flag high, sky high
Embrace the pride in our heart
ASEAN we are bonded as one
Look-in out-ward to the world.
For peace, our goal from the very start
And prosperity to last.
WE dare to dream we care to share.
Together for ASEAN
We dare to dream,
We care to share for it's the way of ASEAN.
 เนื้อร้อง ภาษาไทย
พลิ้วลู่ลม โบกสะบัด ใต้หมู่ธงปลิวไสว
สัญญาณแห่ง สัญญาทางใจ
วันที่เรามาพบกัน
อาเซียน เป็นหนึ่ง ดังที่เราปรารถนา
เราพร้อมเดินหน้าไปตรงนั้น
หล่อหลวมจิตใจ ให้เป็นหนึ่งเดียว
อาเซียนยึดเหนี่ยวสัมพันธ์
ให้สังคมนี้ มีแต่แบ่งปัน
เศรษฐกิจ มั่นคง ก้าวไกล

สามารถฟังเพลง The ASEAN Way ได้จาก




อาเซียน +3 และ อาเซียน +6 คืออะไร ?


อาเซียน +3 และ อาเซียน +6 คืออะไร ? 





อาเซียน +3 คือ กลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ และ 3 ประเทศนอกอาเซียน ได้แก่
           1) จีน
           2) ญี่ปุ่น
              3) เกาหลีใต้
อาเซียน +6 คือ กลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ และ 6 ประเทศนอกอาเซียน ได้แก่
           1) จีน
           2) ญี่ปุ่น
           3) เกาหลีใต้
              4) ออสเตรเลีย
              5) นิวซีแลนด์
           6) อินเดีย

เป้าหมายและวัตถุประสงค์ของอาเซียน







                 เป้าหมายและวัตถุประสงค์ของอาเซียน 



      1)เพื่อส่งเสริมความร่วมมือและความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม เทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ และการบริหาร
                    2) เพื่อส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคงส่วนภูมิภาค
         3) เพื่อเสริมสร้างความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจและพัฒนาการทางวัฒนธรรมในภูมิภาค
                    4) เพื่อเสริมสร้างให้ประชาชนในอาเซียนมีความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตที่ดี
                5) เพื่อให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในรูปแบบของการฝึกอบรมและการวิจัยและส่งเสริมการศึกษาด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
                   6) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการเกษตรและอุตสาหกรรม การขยายการค้า ตลอดจนปรับปรุงการขนส่งและการคมนาคม
                 7) เพื่อส่งเสริมความร่วมมืออาเซียนกับประเทศภายนอก องค์การความร่วมมือแห่งภูมิภาคอื่นๆ และองค์การระหว่างประเทศ

ASEAN (อาเซียน) ย่อมาจาก?ประกอบด้วย?



ASEAN (อาเซียน) ย่อมาจาก? ประกอบด้วย?

          ASEAN (อาเซียน) ย่อมาจาก Association of Southeast Asian Nations หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ประกอบด้วย 10 ประเทศ คือ
           1. กัมพูชา
           2. ไทย
           3. บรูไนดารุสซาลาม
           4. พม่า
           5. ฟิลิปปินส์
           6. มาเลเซีย
           7. ลาว
           8. สิงคโปร์
           9. เวียดนาม
           10. อินโดนีเซีย